หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย

facebook
ทต.ธารเกษม

facebook
ทต.ธารเกษม
ทต.ธารเกษม
เทศบาลตำบล ธารเกษม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
เทศบาลตำบลธารเกษม
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
 
ข่าวสาร
 
 


บทความจากนิติกร เทศบาล
 
การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  
<<
>>
X
ฏีกาที่ 2004/2544
ฎีกาที่ 2526/2540
ฏีกาที่ 4377/2549
ฎีกาที่ 6067/2552
กค(กวจ)0405.2/020147 ลว. 18 พ.ค. 61
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

พอดีวันนี้มีเวลาว่าง นิติกรไม่รู้จะทำอะไรดี  นั่งนึกไปนึกมาว่ามีเรื่องพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ระหว่างผู้อุทิศที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน  ก็เลยเป็นที่มาของบทความน่ารู้ เล็กๆน้อยๆ ในวันนี้ครับ

เข้าประเด็นกันเลยครับ การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

อย่างที่เราๆเข้าใจกันครับ  เวลาเราซื้อขายที่ดิน  หรือยกที่ดินให้ลูกให้หลาน  เราก็ต้องไปที่สำนักงานที่ดิน  เพื่อไปจดทะเบียนนิติกรรม และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินใช่มั้ยล่ะครับ  

กฎหมายเขาก็กำหนดมาให้ทำแบบนั้นจริงๆ ครับ  การที่ต้องบังคับให้ไปจดทะเบียนฯที่สำนักงานที่ดิน  ก็เพราะว่าที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องรู้ว่าใครเป็นเจ้าของ  รัฐต้องการเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดิน  ต้องการหารายได้จากที่ดินเช่นค่าธรรมเนียมการโอน  การรังวัด  ต้องการควบคุมอะไรต่อมิอะไรหลายๆอย่าง เช่นให้คนต่างด้าวท้าวต่างแดนมีสิทธิในที่ดินได้เพียงจำนวนจำกัดเพื่อความมั่นคงของรัฐ  ฯลฯ

แต่เราๆท่านๆ ส่วนมากยังไม่รู้ว่า การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  ผู้อุทิศให้เพียงวาจาปากเปล่าว่าขออุทิศที่ให้เทศบาล หรือทำหนังสืออุทิศที่ดินให้กลุ่มเกษตรกรใช้ทำมาหากิน  เพียงทำแค่นี้ไม่ต้องไปจดทะเบียนกันที่สำนักงานที่ดินก็มีผลบังคับได้แล้ว

ผมขอสรุปผลการอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แบบนี้ครับ

๑.การอุทิศที่ดินมีผลทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อีก (ฎีกา ๔๓๗๗/๒๕๔๙)

๒.แม้หนังสืออุทิศจะระบุว่า จะต้องไปจดทะเบียน ก็ตาม (ฎีกา ๔๓๗๗/๒๕๔๙)

๓.เมื่อการอุทิศมีผลสมบูรณ์โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอน จะฟ้องศาลบังคับให้ไปจดทะเบียนโอน ก็ไม่ได้(ฎีกา ๑๒๗๒/๒๕๓๙)

๔.อุทิศด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย (ฎีกา ๒๖๔/๒๕๕๕)

๕.การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้ประชาชนส่วนใหญ่ จะมิได้ใช้ทางพิพาทตามวัตถุประสงค์ ก็ตาม (ฎีกา ๒๐๐๔/๒๕๔๔)

๖.การแสดงเจตนาอุทิศที่ดิน ไม่จำต้องมีนายอำเภอ หรือนายก อปท. แสดงเจตนารับ ก็มีผลสมบูรณ์ (ฎีกา ๒๓๗๗/๒๕๔๙)

๗.การที่ผู้อุทิศ กลับเข้ามาครอบครองที่ดินอีก แม้นานเพียงใดก็ไม่ทำให้ที่ดินกลับมาเป็นของผู้อุทิศอีก จะยกเอาอายุความต่อสู้กับแผ่นดิน ไม่ได้ (ฎีกา ๒๖๔/๒๕๕๕)

๘.ผู้อุทิศจะขอยกเลิกการอุทิศที่ดิน ไม่ได้ (ฎีกา ๑๑๐๘๙/๒๕๕๖)

๙.เมื่อมีการอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ แม้หน่วยงานราชการยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้อุทิศ หรือตามเงื่อนไขการอุทิศให้ ก็ตาม ที่ดินนั้นก็ยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (ฎีกา ๒๐๐๔/๒๕๔๔)

๑๐.การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อาจกระทำโดยปริยาย ก็ได้ เช่น ยินยอมให้ประชาชนใช้สอยโดยไม่หวงห้าม(ฎีกา ๖๐๖๗/๒๕๕๒,๒๕๒๖/๒๕๔๐) แต่ต้องเป็นการยินยอมให้ประชาชนทั่วไปที่มิได้มีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวกับเจ้าของ ไม่ว่าทางใดๆ

แต่อย่างไรก็ดี หากเทศบาลต้องการความชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่อุทิศให้ในภายภาคหน้า เทศบาลก็ควรจะต้องดำเนินการทางทะเบียนให้ที่ดินส่วนดังกล่าวตกเป็นชื่อของเทศบาลด้วย

ซึ่งที่ดินนั้น ถือเป็นพัสดุ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้น เทศบาลจึงควรถือปฏิบัติตามความเห็นคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ตามหนังสือที่ กค (กวจ)0405.2/020147 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 โดยผ่านสภาท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนไปดำเนินการทางทะเบียนต่อไป

เป็นไงบ้างครับ  พอจะเข้าใจกันน่ะครับ  ลองคลิกเข้าไปอ่านคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องดูน่ะครับ  เพื่อจะได้ความรู้กันครับ



 

ข่าว ณ. วันที่ 19 ส.ค. 2565 เวลา 13.30 น. โดย คุณ สมฤทัย ชัยยะคำ

ผู้เข้าชม 11199 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 065-193-9441